การเรียนรู้แบบปรับเปลี่ยนได้

Hybrid Learning การเรียนรู้แบบปรับเปลี่ยนได้

สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ทำให้สถาบันการศึกษาทั่วโลกต้องหยุดการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนยังดำเนินต่อได้ ดังประโยคที่ว่า สถานศึกษาหยุดได้ แต่การเรียนรู้หยุดไม่ได้ ดังนั้นสถานศึกษาต้องเตรียมแพล็ตฟอร์มมารองรับ ผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอน และผู้เรียนต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียน

ความหมายของการเรียนรู้แบบปรับเปลี่ยนได้ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ของชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยผสมผสานการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน (Synchronous) และคนละเวลากัน (Asynchronous) ที่เชื่อมโยงกันด้วยเครือข่ายโทรคมนาคม สามารถเรียนในห้องเรียนก็ได้ ออนไลน์ก็ได้ คนละที่หรือที่เดียวกันก็ได้

องค์ประกอบของ Hybrid Learning

1. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment)
จะต้องมีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ หรือสลับแบบไฮบริดคู่กัน ซึ่งจะต้องมีแพล็ตฟอร์มที่ตอบโจทย์ ได้แก่ Microsoft Teams, Google Classroom, Zoom หรืออื่นๆ
2. ชุมชนการเรียนรู้ (Class Community)
ประสบการณ์การเรียนรู้ถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ โดยการจำลองประสบการณ์ในห้องเรียนให้เกิดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งทุกคนสามารถช่วยกันให้ข้อมูลสร้างองค์ความรู้ และพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้
3. การออกแบบบทเรียน (Lesson Design)
บทเรียนจะต้องสามารถตอบโจทย์ผู้เรียน และให้ผู้เรียนสามารถนำข้อดีของเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ได้
4. การมีส่วนร่วมและการโต้ตอบ (Engagement and Interactivity)
ในระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์หรือออฟไลน์ จะต้องมีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมและการโต้ตอบ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนมากขึ้น
5. การประเมินและผลป้อนกลับ (Assessment and Feedback)
การจัดการเรียนรู้จะต้องประเมินและให้ผลป้อนกลับได้ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์ ความก้าวหน้าในการเรียนออนไลน์ ซึ่งอาจใช้การเรียนรู้แบบต่างๆ เข้ามาผสมผสานกันตามความเหมาะสม

การเรียนรู้แบบปรับเปลี่ยนได้

การจัดการเรียนรู้แบบ Hybrid Learning ให้เวิร์ค

1. รักษากิจวัตรเวลาเรียนแบบเดิม
ผู้สอนและผู้เรียนยังคงใช้ตารางเวลาเรียนแบบเดิม แต่เปลี่ยนมาใช้แพล็ตฟอร์มออนไลน์ เพื่อรักษากิจวัตรแบบเดิมให้คุ้นชิน เป็นนิสัย สร้างวินัยในการเรียนแม้จะอยู่ที่บ้าน การมีแบบแผนในการเรียนที่ชัดเจนจะช่วยให้กิจกรรมต่างๆ เป็นไปได้อย่างราบรื่น ทั้งการสอน การพูดคุย และการประชุม
2. การบ้านกระชับขึ้น ไม่ซับซ้อน
การบ้านจะต้องสื่อสารให้เข้าใจง่ายและชัดเจน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ตรงกันและทำการบ้านได้เสร็จสมบูรณ์ ผู้สอนนำการบ้านแบบเดิมที่วางแผนไว้มาแบ่งย่อยเป็นส่วนเล็กๆ และทยอยมอบหมายเป็นส่วนๆ ในแต่ละครั้งที่จัดการเรียนการสอน
3. ผู้สอนสร้างสื่อการเรียนรู้
การเรียนรู้ออนไลน์ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ผู้สอนจะต้องเตรียมหรือสร้างสื่อการเรียนรู้ เช่น สื่อปฏิสัมพันธ์ คลิปวิดีโอสั้นๆ แม้ว่าคุณภาพของการสร้างอาจจะสู้นักผลิตสื่อมืออาชีพไม่ได้ แต่มีประสิทธิภาพสูงมาก เพราะผู้สอนสามารถมีความสัมพันธ์กับผู้เรียนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคลิปวิดีโออธิบายการบ้านก็ได้
4. สอนออนไลน์สดแบบไม่บังคับให้ทุกคนต้องเข้า
การสอนออนไลน์สดมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สอนกับผู้เรียนได้พูดคุยกันหลังจากผู้เรียนดูสื่อการเรียนรู้มาแล้ว เพื่อให้เกิดการถาม-ตอบ การสอนออนไลน์ไม่จำเป็นต้องสอนสดตลอด เนื่องจากผู้เรียนทุกคนอาจมีความพร้อมในด้านอุปกรณ์ เวลา และอินเทอร์เน็ต ไม่เท่ากัน
5. พยายามอย่าให้ผู้เรียนอยู่หน้าจอทั้งวัน
ผู้สอนควรแนะนำให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอื่นที่หลากหลายและไม่ใช้กิจกรรมบนคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต เช่น การออกกำลังกาย อ่านหนังสือ การเขียน วาดภาพ แล้วถ่ายรูปหรือสแกนส่งมาเป็นการบ้านแทน
6. ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม
การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถให้ผู้ปกครองได้ร่วมกันทำกับผู้เรียน ทำให้การเรียนรู้สนุกมากยิ่งขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมครอบครัว ผู้สอนควรทำแผนการเรียนรายสัปดาห์ส่งให้ผู้ปกครองด้วย เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถเสนอแนะได้ และช่วยให้ผู้ปกครองทราบและช่วยติดตามผลของลูกได้ด้วย
7. ใช้แพล็ตฟอร์มออนไลน์
ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่สามารถช่วยจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ที่สามารถแบ่งปันสื่อการเรียนรู้ การทบทวนเนื้อหามีระบบการบ้าน การสุ่มรายชื่อออนไลน์ และการสอบออนไลน์ เป็นต้นม

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ kendalljazz.com

Releated